Stainless Steel

“สแตนเลส” หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ “เหล็กกล้าไร้สนิม” เป็น ศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียกเหล็กในกลุ่มที่มีความต้านทานการกัดกร่อนสูง สแตนเลสเป็นโลหะผสมระหว่างเหล็กและคาร์บอน ซึ่งส่วนประกอบจะมีปริมาณคาร์บอนต่ำ มีโครเมียม เป็นส่วนผสมหลัก ประมาณ 10.5 % หรือมากกว่าทำให้เกิดการสร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์ (chromium oxide film : CrO2 หรือเรียกว่า passive film)ที่มองไม่เห็นเกาะติด แน่นอยู่ที่ผิวหน้าทำให้เหล็กกล้า มีความต้านทานการกัดกร่อน ถ้าฟิล์มที่ ผิวหน้านั้น ถูกทำลายไม่ว่าจากแรงกล สารเคมี หรือออกซิเจนที่มีอยู่ในบรรยากาศ แม้จำนวนน้อยนิดจะเข้าทำปฏิกิริยากับโครเมียม สร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์ทดแทน ขึ้น ใหม่ด้วยตัวมันเอง

สแตนเลสที่นิยมใช้ทั่วไป คือ

Austenitic Stainless Steel
สแตนเลสกลุ่มออสเตนิติก หรือที่รู้จักกันใน “ Series 300 “ เป็นเกรดที่แม่เหล็กดูดไม่ติด (NONMAGNETIC) มีส่วนผสมของโครเมียม 18% แล้วยังมีนิเกิลไม่ควรต่ำกว่า 8% มาช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน สแตนเลสเกรดนี้จะมีความแข็งน้อยลงเมื่อมีการใช้งานในสภาพความร้อนสูง แต่จะมีความแข็งเมื่อใช้งานในสภาวะที่เย็น

Ferritic Stainless Steel
สแตนเลสกลุ่มออสเตนิติก หรือที่รู้จักกันใน “ Series 300 “ เป็นเกรดที่แม่เหล็กดูดไม่ติด (NONMAGNETIC) มีส่วนผสมของโครเมียม 18% แล้วยังมีนิเกิลไม่ควรต่ำกว่า 8% มาช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน สแตนเลสเกรดนี้จะมีความแข็งน้อยลงเมื่อมีการใช้งานในสภาพความร้อนสูง แต่จะมีความแข็งเมื่อใช้งานในสภาวะที่เย็น

สแตนเลสเกรดทั่วไปที่ตลาดนิยมใช้งาน (Commercial Grade)
มี 3 เกรด คือ

เกรด 304 – เป็นสแตนเลสที่พบเห็น และใช้แพร่หลายที่สุด มีส่วนผสมของโครเมียม (CHROMIUM) ประมาณ 18% และนิคเกิล (NICKEL) ประมาณ 8%
เกรด 430 –มีความต้านทานการกัดกร่อนน้อยกว่าชนิด 304 มีส่วนผสมของโครเมียม (CHROMIUM) 17%
เกรด 316 – เป็นสแตนเลสที่มีส่วนผสมของโครเมียม (CHROMIUM) 16% ถึง 18% และนิคเกิล (NICKEL) 11% ถึง 14% และยังมีโมลิบดินัม (MOLYBDENUM) ผสมอยู่อย่างน้อยที่สุด 2% ซึ่งจะทนการกัดกร่อนที่เป็นหลุม (PITTING RESISTANCE) ได้ดี

**หมายเหตุ**

"L" Grade แสดงถึงสแตนเลสนั้นมีคาร์บอนผสมอยู่น้อย (low Carbon) ซึ่ง L เกรดจะเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนพิเศษตามขอบเกรน แม้ผ่านการเชื่อมมาแล้ว แต่สแตนเลสชนิดนี้จะมีราคาสูงกว่าชนิดธรรมดา สแตนเลสชนิิิด L Grade ที่พบทั่วไปได้แก่ 304L , 316L เป็นต้น

พื้นผิวของสแตนเลส
2D
มีลักษณะผิวด้าน มีความสะท้อนแสง 13%
2B
ลักษณะผิวจะเงาขึ้นเล็กน้อยจากผิว 2D มีความสะท้อนแสง 22% ในเกรดออสเตนิติก และ 46% ในเกรดเฟอร์ริติก
BA
มีลักษณะผิวมันเงา มีความสะท้อนแสง 54%
No.4
เป็นผิวที่มีการขัดด้วยกระดาษทราย #180
HL
เป็นผิวที่มีการขัดเป็นลายเส้นยาว (HAIR LINE)
No.8
มีลักษณะผิวเงาวาวเหมือนกระจก (MIRROR FINISH) มีความสะท้อนแสง 85%
สแตนเลสผิว 2B จะสามารถนำไปพัฒนาโดยขัดผิวต่อด้วยวัสดุต่างๆ แยกเป็น 2 ผิวหลักๆ คือ

- ผิวมัน 2B -> 2BB (ปัจจุบันไม่ค่อยมี) -> BA (กึ่งเงา) -> No.7 (ใสขึ้น) -> No.8(ใสเหมือนกระจก) -> Mirror (ผิวกระจก)
- ผิวเส้นลาย 2B -> No.3 (ลายขนแมวหยาบๆ) -> No.4 (ลายขนแมวละเอียดขึ้น) -> HL (Hair Line)

นอกจากสแตนเลสสองเกรดที่กล่าวทางด้านบน ในนามบริษัท สินสยามเม็ททอลเซ็นเตอร์(1984) จำกัด ยังได้เป็นผู้แทนในการนำเข้าและจัดจำหน่าย สแตนเลส Series 200 ภายใต้แบรนด์ “JINDAL STAINLESS” เพื่อตอบสนองลูกค้าอีกด้วย

ตารางเปรียบเทียบธาตุองค์ประกอบ

Thickness : 0.30 mm. – 3.00 mm.
Grade : 201, 202, 304, 430, 316L (2B, BA, Hairline, ขนแมว, มิลเลอร์, No.1)
Product available in : Sheet , Coil , Slit

ประโยชน์และลักษณะการนำสแตนเลสไปใช้งาน
Grade
ลักษณะการนำไปใช้งาน
201
-ทำพื้นรถเข็นต่างๆ
-ทำเฟอร์นิเจอร์
-ทำแผง และอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ
-ถังเก็บ,ถังแก๊ส
-กันชนรถทุกประเภท
-ท่อพักท่อไอเสีย
-ลายประดับรั้ว,ราวประเภทต่างๆ
202
-ใกล้เคียงกับเกรด 201 แต่มีความต้านทานการกัดกร่อนได้ดีกว่า
304
-ตู้เย็น,เครื่องทำความเย็น
-ทำเฟอร์นิเจอร์สนาม,เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้งานภายนอก
-ถัง/แทงค์ บรรจุน้ำ
-เครื่องใช้เกี่ยวกับครัวเรือน เช่น เตา - โต๊ะ : อุปกรณ์ประกอบอาหาร
-เครื่องมือเวชภัณฑ์ ในโรงพยาบาล
-เครื่องล้างจาน,อ่างล้างจาน,ภาชนะหุงต้ม
316
-โดยทั่วไปมีการใช้งานเหมือนเกรด 304 ซึ่งมีลักษณะการใช้งานที่กว้างกว่าเกรด 304 คือ
-งานตกแต่งอาคาร,งานสถาปัตยกรรม
-ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
-ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์, เวชภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในโรงพยาบาล
-ผลิตอุปกรณ์ที่ใช้อุตสาหกรรมต่อเรือ
410,430
-ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์,สินค้าตกแต่งภายในบ้าน, อาคาร
-เครื่องใช้, เครื่องมือบนโต๊ะอาหาร, มีด, ช้อน
-ส้อม
-อุปกรณ์ดูดฝุ่น, ท่อดูดควัน, ท่อดัก
-ใช้ทำส่วนประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น ท่อพัก, ท่อไอเสีย, ถังน้ำมัน
**หมายเหตุ**

ทั้งนี้ บริษัท สินสยามเม็ททอลเซ็นเตอร์(1984) จำกัด ยังได้มีการจัดจำหน่าย
แป๊ปกลมเงา – เกิดจากการนำแผ่น 2B มาม้วนแล้วเชื่อม และขัดจนเป็นผิว BA
แป๊ปเหลี่ยมเงา – เกิดจากการทำแผ่นให้เป็นท่อกลมก่อนแล้วจึงบีบเป็นเหลี่ยม ส่วนฉากและแป็ปน้ำทำจาก No.1